top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

5 แคมเปญที่ดีที่สุดของ WeChat ปี 2016



1)Forbidden City & Tencent

ลองจิตนาการดูว่า Zhu Yuanzhang ราชาราชวงศ์หมิง ฟื้นคืนชีพจากอดีตกาล ลุกขึ้นมาร้องเพลงแรพ เซลฟี่และโพสลง Wechat แคมเปญนี้สร้างขึ้นโดย Forbidden city ร่วมกับ Tencent เพื่อโปรโมท “Next Idea” การแข่งขันความคิดสร้างสรรค์ สิ่งนี้หลังจากออกตัวได้ไม่นานบน Wechat มันกลายเป็นเรื่องหือหาขึ้นมาอย่างน่าตกใจ QQ emoji ที่ปรากฏขึ้นระหว่างแคมเปญทำสถิติ 800 ล้านดาวน์โหลดไปในเวลาเพียงแค่สองวัน

ทำไมมันถึงได้ฮือฮาขนาดนั้น ?

นอกจากจะมีความคิดสร้างสรรค์ผสมกับความทันสมัย ศิลปะประวัติศาสตร์ และเพลงที่เหมาะเจาะแล้ว แคมเปญนี้มีโครงสร้างที่ชัดเจนมาก พุ่งไปที่เป้าหมายที่ถูกต้อง และเรียกผลตอบรับในวิธีที่เหมาะสม ราชา Zhu เข้าถึงคนจากหลายทางบนแอพฯ Wechat(WeChat Moments, short video and WeChat Moments) และ QQ (QQ emojis, QQ mail, video feature) แคมเปญนี้ระบุกลุ่มเป้าหมายไว้ชัดเจนที่วัยรุ่นและคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น นักพัฒนาเกมส์ ฮาร์ดแวร์ดีไซน์เนอร์หัวกระทิ นักออกแบบอีโมจิ นักเต้น กรากฟิกดีไซน์เนอร์ หรือแม้กระทั่งนักวาดการ์ตูน นอกจากแคมเปญที่น่าจดจำนี้ Forbidden City ยังสามารถดิงดูดคนได้อย่าเหลือเชื่อผ่านทาง Weibo พวดเขาลงรูปที่สามารถนำมาใช้เป็นพื้นหลัง(background)ของโทรศัพท์มือถือได้ และยังมีรูปที่รวมภาพวาดศิลปะร่วมสมัยที่เต็มไปด้วยคอมเม้นที่ตลกฮือฮาเข้าไปด้วย

2) Fenda

Fenda คือ แอพต่อยอดจาก Wechat เป็นแพลตฟอร์ม ถามตอบ 24 วันหลังจากวันที่แอพฯนี้ออกสู่โลกกลางเดือนพฤษภาคม แอพฯนี้สามารถทำเงินไปเป็นกอบเป็นกำและทำให้มูลค่าของบริษัทนั้นขึ้นไปสูงถึง 100 ล้าน คุณสามารถตอบคำถามที่เพื่อนของคุณตั้งไว้ใน Wechat และเก็บค่าตอบคำถามนั้นได้ แคมเปญนี้ได้รับเสียงตำรับที่ดีมากจากการที่มีเซเล็ป คนดัง ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน มาตอบคำถามออนไลน์เกี่ยวกับทุกอย่างภายใน 60 วินาที และเนื่องจากใครก็ได้ทั้งนั้นที่จะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตอบคำถาม แคมเปญนี้เรทพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว

Wang Sicong ลูกชายของคนที่รวยที่สุดในประเทศจีน ทำเงินไป 260,000 RMB กับการตอบคำถาม 32 คำถาม รวมถึงคำถามนี้ “มีอะไรอีกมั้ยที่คุณซื้อไม่ได้ในฐานะที่เป็นลูกของคนที่รวยที่สุดในประเทศ”

3) BMW

“The BMW M2 แคมเปญเป็นที่พูดถึงอย่างมากด้วยเหตุผลบางประการ”

  1. แคมเปญนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของหัวข้อหลอกล่อให้คลิก(click-bait title) กับ ภาพขนาดย่อ บทความนั้นเริ่มด้วย “ข่าวนี้เพิ่งถูกลบออกโดย BMW” กับสัญลักษณ์เตือนของ Wechat ที่ใช้หลังจากบทความถูกเซ็นเซอร์ วิธีนี้เพียงพอที่กระตุ้นต่อมอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่านให้คลิกที่ “อ่านเพิ่มเติม” เพื่อที่จะได้เห็นแคมเปญ และแคมเปญนี้ก็ทำสถิติไปได้ 100,000 ล้านวิว ภายในเวลาแค่ 2 ชั่วโมงหลังจากถูกปล่อย ต้องขอบคุณที่หัวข้อที่แสนยั่วยวนใจ

  2. แคมเปญนี้เริ่มจาก H5 ลอกเลียนแบบดีไซน์บทความของ Wechat บทความนั้นถูกทำขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดวิดีโอที่น่าสนใจเพื่อโฆษณาโมเดลตัวใหม่ของ BMW BMW ใช้เทคนิคสร้างบทความปลอมขึ้นมา และเซอร์ไพรส์ผู้อ่านด้วย H5 กุญแจสำคัญจริงๆแล้วอยู่ที่ดีไซน์ที่น่าสนใจของแคมเปญโดยรวมที่ทำให้ผู้เข้าชมทำตามต่อเนื่องจากคลอกแรกจนถึงพฤติกรรมที่คาดไว้

4) Douban

Douban เป็นพื้นที่สำหรับการรีวิว แคมเปญแรกปล่อยออกมาในปี 20005 แคมเปญนี้คิดค้นขึ้นโดยเอเจนซี่ W. มันมีลักษณะพิเศษที่มันไม่ทำตามกฏใดๆที่มีใน H5 มันเป็นเหมือนเกมส์ที่ให้ผู้เล่นคลิกออะไรก็ได้เกือบทุกอย่างบนหน้าจอเพื่อจะไปด่านต่อไป

นี่น่าจะเป็นแคมเปญของ Wechat H5 แรกที่

  1. ผู้ใช้ต้องกดหลายครั้งกว่าจะสามารถเข้าหน้าที่จะดาวโหลดแอพฯได้

  2. มีปัญหาเชาว์ 5 ด่านที่ผู้ใช้ต้องผ่านให้ได้ก่อน

แคมเปญที่ไม่เหมือนใครนี้เป้นอะไรที่ดึงดูมากสำหรับผู้ใช้ Douban เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือและแก้ปัญหาเชาว์

5. แคมเปญ WeChat

Tencent สร้างแคมเปญตอนต้นปี หลังจากที่ล็อคอิน Wechat แล้วผู้ใช้จะได้รับรายการคะแนนที่มีอยู่ในแอคเค้าท์ ตัวอย่างเช่น เป็นเพื่อนคนแรกใน Wechat, จำนวนส่งซองอั่งเปาที่ส่งและได้รับ, จำนวนที่ผู้ใช้เข้าเยี่ยมชมในเวลาหนึ่งปี แคมเปญนี้เป็นที่ฮือฮามากก่อนที่แคมเปญทางการจะถูกปล่อยเสียอีก เพราะข่าวแคมเปญนั้นรั่วออกมาจากคนในของ Wechat และเมื่อแคมเปญจริงออกมาทุกคนพูดถึงมันทั่ว Wechat Moments สิ่งสำคัญที่ได้จาก Wechat คือผู้ใช้ชอบแคมเปญที่พวกเขากำหนดเองได้ พวกเขาชอบข้อมูล ชอบโอ้อวดกันใน Wechat Moments แบรนด์สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปประกอบการตัดสินใจสำหรับแคมเปญต่อๆไปได้

Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page