แนวคิดจากผู้ก่อตั้ง Huawei ทุ่มเทหนึ่งผลิตภัณฑ์ อาจกู้กิจการได้
เหรินเจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) ผู้ก่อตั้ง Huawei (หัวเว่ย) แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของจีนด้าน Smart Phone และ โทคคมนาคม ซึ่งในปัจจุบันได้ครองส่วนแบ่งตลาด Smart Phone เป็นอันดับ 3 ของโลกในเวลานี้ เรียกว่าตาม Apple มาติดๆทุกขณะ
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า กว่าจะมีวันนี้ได้ Huawei เสี่ยงที่จะล่มสลายและพ่ายแพ้จากธุรกิจไปหลายครั้ง เนื่องจากความล้าหลังในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่ไม่สามารถแข่งขันกับโลกตะวันตกได้เลย
เนื่องจาก Huawei เดิมทีเป็นบริษัที่ก่อตั้งมาโดยกลุ่มพี่น้องชาวจีนที่ต้องต่อสู้ความยากลำบากของชีวิตในวัยเด็ก โดยเหรินเจิ้งเฟย พี่ชายคนโตของครอบครัว ได้ก่อตั้งบริษัทมาโดยความคิดที่ว่า "ขายอะไรก็ได้" เนื่องจากบริษัทในช่วงก่อตั้งราว ปี ค.ศ. 1987 ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เด่นชัด แม้ว่าจะพยายามเข้ามาจับกระแสตลาดของธุรกิจโทรคมนาคมและที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างนวัตกรรมของตนเองได้
กระทั่งบริษัทเริ่มส่อแววที่จะไปไม่รอด เหรินเจิ้งฟงก็คิดว่า "ตะปูหนึ่งตัว ยังสามารถเจาะเหล็กได้ แล้วถ้าทำให้ตะปูนั้นใหญ่โตขึ้น แหลมคมขึ้น ไยจะไม่สามารถเจาะกำแพงเหล็กที่หนาได้เล่า"
เพราะคิดเช่นนี้ เหรินเจิ้งเฟยและทีมงานจึงตัดสินใจทุ่มเทกับการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี แต่ก็ต้องเป็นกระแสที่ทันโลกในสมัยนั้น หรืออย่างน้อยคือ ในตลาดขาดแคลน พวกเขาตัดสินใจทุ่มเงินทุนและกำลังคนชนิดหมดหน้าตักไปกับการพัฒนา "ตู้สาขาโทรศัพท์ไฟฟ้า" ที่มีคุณภาพ เนื่องจากเล็งเห็นว่า ทั่วประเทศจีนในเวลานั้นมีการผลิตที่ค่อนข้างด้อยคุณภาพ ที่มีอยู่ก็เป็นการนำเข้าจากฮ่องกงและตะวันตกในบางส่วน แต่ก็ยังขาดแคลนอยู่ดี
ตู้โทรศัพท์ไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อยุคสมัยในเวลานั้น พวกเขาจึงเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายตู้สาขาโทรศัพท์ HAX จากบริษัทหงเหยียนของฮ่องกง และมีบริการที่ดีจนมียอดจำหน่ายสูง เหรินเจิ้งเฟยจึงใช้โอกาสนี้ พัฒนาตู้สาขาโทรศัพท์ไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน
หลังจากนั้น Huawei เกือบจะตกจากกระแสเทคโนโลยีอีกหลายครั้ง แต่ก็ด้วยแนวคิดการบริหารนวัตกรรมนี้เอง ทำให้พวกเขาผ่านพันช่วงเปลี่ยนผ่านและเข้าสู่ตลาด Smart Phone ได้สำเร็จ เรียกว่าแม้จะมาช้ากว่ารายใหญ่ทุกเจ้า แต่ก็ยังมาทัน และไม่ล้มไปแบบ Nokia ด้วย
แนวคิดของเหรินเจิ้งเฟย จึงควรค่าที่จะศึกษา สำหรับผู้ที่มองหาโอกาสทำธุรกิจ ว่าไม่ใช่แค่การคิดจะขายอะไรเท่านั้น แต่ก็ต้องคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วย
คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand