แพลทฟอร์มแนะนำร้านมิชลินCtrip Gourmet ของ Ctrip เตรียมตัวหลังโควิด19 คลี่คลาย
แนะนำบริการ Ctrip Gourmet ช่วยเพิ่ม Value และ Service ให้ภัตตาคาร
การพัฒนาแพลทฟอร์มของ Ctrip Gourmet จะช่วยเพิ่มทั้งในด้าน Value และ บริการ Service ที่รองรับกับภัตตาคาร ร้านอาหาร ในแบบออนไลน์ ผ่านทางมือถือ ซึ่งใช้งานง่าย เข้าถึงผู้ใช้งานชาวจีนได้จริง
มีรายงานมาตั้งแต่ปี 2017-2018 เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งมีกลุ่มใหญ่มากกลุ่มหนึ่งนั่นคือ “นักชิม” หรือเรียกง่ายๆว่า การตระเวนหาร้านอาหารสุดอร่อย คือหนึ่งในเป้าหมายใหญ่ของนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในประเทศไทย ไม่ว่าจะในรูปแบบกรุ๊ปทัวร์หรือแบบ FIT
ซึ่งจากข้อมูลของ CIW ของจีน และทาง การท่องเที่ยวไทย (TAT) ก็ชี้ไปในทางเดียวกันว่า อาหารไทยและขนมไทย คือหนึ่งในสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจีนอยากมาเที่ยวเมืองไทยเป็นอันดับต้นๆ นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ติดใน TOP5 อันดับแรกของเมืองที่นักท่องเที่ยวอยากมาที่สุดตลอด 3 ปีหลัง รวมถึงเมืองสำคัญอย่าง เชียงใหม่ พัทยา พังงา ภูเก็ต เป็นต้น
ที่สำคัญคือ เมืองท่องเที่ยวของไทยเหล่านี้ยังมีการเชิญชวนเหล่า นักชิม และจัดทำทัวร์ มิชลิน เป็นจุดขาย ซึ่งวางแผนมาตั้งแต่ปี 2018 ที่จะขยายขอบเขตออกไปในช่วง 4 ปีนี้
อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์โควิด19 คาดว่าแผนการต่างๆคงต้องชะลอออกไปก่อน ถึงกระนั้น หลังจากสถานการณ์คลี่คลาย บรรดาผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับช่วง Rebound ของการท่องเที่ยว ซึ่งมีข้อมูลจาก Xinhua ว่า คนจีนมีความโหยหาการท่องเที่ยวหลังจากต้องถูกกักตัวในช่วงโควิด19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเวลานี้จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่สถานการณ์กำลังคลี่คลายลง ดังนั้นการท่องเที่ยวภายในประเทศจีนจึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่คาดว่าจะสามารถฟื้นกลับมาภายในเดือน พฤษภาคม เป็นต้น
แต่ในส่วนของการท่องเที่ยวในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย คงต้องเฝ้าดูสถานการณ์ต่อไปจากนี้
สำหรับการเตรียมรับนักท่องเที่ยวจีน กับบรรดาร้านอาหารและภัตตาคารบนช่องทางออนไลน์ เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมาตั้งแต่ปี 2017 แต่จากข้อมูลของฝั่งจีนเอง เช่นทาง TTGASIA ชี้ว่า ยังมีภัตตคารหลายแห่งในไทยที่ไม่ได้อยู่ใน List ของ มิชลินไกด์ ซึ่งสาเหตุนั้นคาดว่า เพราะภัตตคารเหล่านี้ยังไม่ได้ตระหนักมากนักถึงรูปแบบการจอง pre-booking ผ่านระบบออนไลน์ หรือแพลทฟอร์มเฉพาะตัวที่สามารถเข้าถึงลูกค้าชาวจีนได้โดยตรงนั่นเอง
สาเหตุนั้นก็มีหลายอย่าง เช่น
1.การไม่ปรับตัวเข้ากับแพลทฟอร์มออนไลน์
2.กำแพงภาษาจีน
3.ร้านอาหารหรือภัตตาคารไม่ได้มีความดึงดูดที่เฉพาะตัว ขาดจุดขาย
4.เคยเลือกใช้แล้วแต่เข้าไม่ถึงนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มใหญ่จริงๆ
4.ไม่ได้ติดต่อประสานกับเอเจ้นท์การท่องเที่ยวที่น่าเชื่อถือมากพอ
ทาง TGGASIA ก็เคยให้ข้อมูลว่า พวกเขาเข้าถึงและทำสัญญาร่วมกับภัตตาคารและร้านอาหาร กับระดับโรงแรมในไทยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายแห่งที่ขาดการติดต่อสื่อสารในส่วนนี้ ซึ่งน่าเสียดายมาก เพราะยังมีอีกหลายแห่งที่มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวจีนได้ดี และยังจะสร้างชื่อเสียงให้เกิดกับนักท่องเที่ยวจีนได้ด้วย
อีกปัญหาคือ พฤติกรรมการรับประทานในร้านอาหารของคนไทยเอง ไม่ค่อยนิยมการจองล่วงหน้ามากนัก ตรงข้ามกับชาวต่างชาติที่การจะไปกินในร้านชื่อดังต้องจองกันล่วงหน้า ไม่ว่าจะโทรศัพท์ หรือเปลี่ยนมาใช้ออนไลน์ ในเมื่อไม่ได้มีใช้บริการจองออนไลน์ตั้งแต่แรก จึงยากที่จะปรับตัวมาใช้งานบนแพลทฟอร์มไปด้วย
ปัจจุบัน Ctrip Gourmet List เป็นแพลทฟอร์มออนไลน์แนะนำร้านอาหารและภัตตาคารที่อ้างอิงจากมิชิลินไกด์ ซึ่งได้ร่วมกับภัตตาคารระดับมิลิน จำนวนมากกว่า 20,000 แห่ง จาก 150 ประเทศชื่อดังที่เป็นเป้าหมายการท่องเที่ยวของคนจีนและจากทั่วโลก ครอบคลุม Users ผู้ใช้บริการมากกว่า 300 ล้านคน และภัตตาคารอื่นๆอีกกว่า 9 ล้านแห่งจากทั่วโลก มียอดผู้ใช้งานเข้าถึงวันละมากกว่า 1 ล้านคน
นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ภัตตาคารและร้านอาหาร โรงแรม ในประเทศไทย จะได้ใช้แพลทฟอร์มนี้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อเพิ่มมูลค่า Value และ บริการ Service ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้ได้มากขึ้น ซึ่งควรเตรียมตัวกันไว้หลังจากโควิด19 คลี่คลายลง
=========================================
#คิดถึงการตลาดจีน#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand#
ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ
“ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่
หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ
“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่
ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่
ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ
Комментарии