top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

ทุเรียนหมอนทอง ราชาผลไม้ของไทย กับการบุกตลาดจีน

คงไม่ได้กล่าวเกินเลยไป ถ้าเราจะบอกว่า ทุเรียนหมอนทอง เสมือนตัวแทนของผลไม้ไทย สำหรับการบุกตลาดจีน เพราะเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนจีน


แล้วไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวจีนมาซื้อทาน หรือซื้อกลับไปเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมบนช่องทางเว็บอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนอย่างมากอีกด้วย ถึงขั้นที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า คนจีนจำนวนหนึ่งแห่เข้ามาลงทุนในสวนเล้งของไทยในบางจังหวัดทางภาคตะวันออก



สำหรับทุเรียนของไทยที่มีการส่งออก ก็มีข้อมูลอ้างอิงจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ของไทย ที่ได้เปิดเผยตัวเลขล่าสุดชี้ว่า ในเวลานี้ ประเทศไทยได้ขึ้นแท่นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ส่วนลำดับถัดมาคือ ประเทศมาเลเซีย


เกี่ยวกับข้อมูลในด้านนี้ มีการเปิดเผยจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ไทยได้ส่งออกทุเรียนสดมูลค่าประมาณ 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.48 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 จากช่วงเดียวกันของปี 2018 ซึ่งถือว่าตลาดหลักของไทยคือจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งซื้อทุเรียนส่งออกของไทยถึงร้อยละ 79 เลยทีเดียว


โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2019 พบว่า มูลค่าการส่งออกทุเรียนไปจีนอยู่ที่ 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.29 หมื่นล้านบาท) ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 219 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.65 พันล้านบาท)


นอกจากนี้ยังมีการให้ข้อมูลอีกว่า ด้วยปริมาณการส่งออกทุเรียนจำนวนมหาศาลของประเทศไทย นับว่าเป็นผลมาจากความร่วมมือและตกลงการค้าเสรีกับอีก 16 ประเทศ ซี่งคู่ค้าประเทศเหล่านั้นมีการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทย


แจ็คหม่า
แจ็คหม่า แห่งเครือ อาลีบาบา ซึ่งปีก่อนทำสถิติขายทุเรียนบทเว็บ Tmall ไปแล้ว


สำหรับทุเรียนไทย ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ก็ไม่พ้น "ทุเรียนหมอนทอง" ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในหมู่คนจีนมานาน จนถึงขั้นถูกเรียกว่าเป็น ราชาผลไม้ ด้วยความที่มีจุดเด่นคือ รสชาติที่ถูกใจคนจีนและชาวต่างชาติจำนวนมาก ทำให้มียอดส่งออกทุเรียนหมอนทองไทยไปจีนเป็นมูลค่ามากกว่า 220 ล้านเหรียญสหรัฐ จากในปี 2018 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 207%


ซึ่งถ้าย้อนดูในปีที่ผ่านมา มีกรณีตัวอย่างของ เว็บไซต์ในเครือ Alibaba ของ แจ็คหม่า อย่างเช่น Tmall ซึ่งสามารถทำสถิติขายทุเรียนหมอนทองของไทยได้มากกว่ากว่า 80,000 ลูก ภายในเวลาเพียง 1 นาทีมาแล้ว จนกลายเป็นประเด็นดังไปทั่วโลกโซเชียล แล้วไม่เพียงแค่บน Tmall เท่านั้น แต่ทุเรียนไทยยังขายดีบนเว็บ JD.com เป็นปริมาณราว 428,000 กิโลกกรัม โดยใช้เวลาเพียงวันเดียวเท่านั้น


มีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ในปีที่ผ่านมา ประเทศจีน นำเข้าทุเรียนจากประเทศไทยถึง 90% จากการนำเข้าทุเรียนทั้งหมด และหลังจากการลงนามในความร่วมมือระหว่างไทยและอาลีบาบา ก็น่าจะส่งผลทำให้การนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป้าหมายหลักของจีนคือ ต้องการทุเรียนไทยที่มีความสดจากสวน หลังจากในช่วงก่อนหน้านี้เคยมีปัญหาเรื่องทุเรียนเน่าเสียมาก่อน ซึ่งถือว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาของการส่งออกทุเรียนหมอนทองที่เคยเกิดขึ้น


สำหรับในปีที่ผ่านมา ราคาทุเรียนอยู่ที่ประมาณ 80 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ก็ขึ้นเป็น 110 บาท ภายในปีนี้


แล้วในบรรดาทุเรียนไทย นอกจากหมอนทอง ที่ครองตลาดใหญ่ในจีนแล้ว ยังมี ทุเรียนชะนี ก้านยาว ซึ่งมีข้อมูลว่า ทุเรียนชะนีมีพื้นที่ตลาดอยู่ที่ประมาณ 7%


แต่นอกจากทุเรียนแล้ว อันที่จริงยังมีผลไม้อื่นของไทยที่คนจีนชื่นชอบด้วย เช่น ลำไย มังคุด ซึ่งทั้งหมดได้รับความสนใจและมียอดขายบนเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ B2C ชื่อดังของจีน เช่น Tmall โดยอ้างอิงข้อมูลจากทางกระทรวงพาณิชย์ ที่ชี้ว่า ผลไม้ไทยหลายประเภทเหล่านี้ กำลังเป็นที่สนใจอย่างมาก และมียอดขายใน Tmall ระดับสูง จากปี 2018 ที่ผ่านมา


ซึ่งในปีนี้ มีการคาดการณ์ไว้ว่า เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยอดนิยมอย่าง Tmall จะสามารถขายผลไม้ไทยหลายประเภท เช่น ลำไยไทยได้มากถึง 8,000-10,000 ตัน เป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท และอาจจะมียอดขายเพิ่มกว่าเท่าตัวภายในสามปีข้างนี้อีกด้วย


สุดท้ายแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ผลไม้ไทยหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน มังคุด ลำไย และผลไม้ประเภทอื่น ๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ดีสำหรับเกษตรกรและชาวสวนไทย ที่สามารถมองถึงการบุกตลาดในจีนได้ครับ และช่องทางการตลาดออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางที่สำคัญและไม่ควรพลาด ถ้าจะใช้เพื่อบุกตลาดจีนในยุคนี้


=========================================

ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ

“ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่

หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ

“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่

ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่

ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ

Comentários


Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page