พลิกวิกฤตเป็นโอกาส อีคอมเมิร์ซจีน หลังจากไวรัสโคโรน่า
ผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า ต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซของจีน ในและนอกประเทศ
ในสองสัปดาห์ ที่ผ่านมา ผลกระทบจากไวรัสโคโรน่าที่อู่ฮั่น ได้แพร่ระบาดและส่งผลต่อชีวิตคนจีนจำนวนมหาศาล และมีผลกระทบต่อการค้าปลีกของจีนด้วย ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในและนอกประเทศจีน หลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจของเรา
นี่จึงเป็นจดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซในจีนครับ

ผลกระทบต่อภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ผลกระทบต่อการซื้อขาย: ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า มันส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในเชิงลบอย่างมาก
โลจิสติกส์ และการขนส่งสินค้ามีปัญหา แต่ตอนนี้กลับสู่สภาพปกติแล้ว : สถานการณ์ในด้านโลจิสติกศ์ เริ่มกลับสู่ช่วงดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. เป็นต้นไป และระบบขนส่งในภาพรวมของจีนแผ่นดินใหญ่น่าจะได้กลับสู่สภาพปกติในช่วงปลายสัปดาห์นี้ แต่ส่วนที่ยังเฝ้าระวังและน่าเป็นห่วงก็คือ Cross-border Ecommerce โดยเฉพาะที่ฮ่องกง ซึ่งเวลานี้ปิดดำเนินการ
แต่อีคอมเมิร์ซก็ยังคงมีทิศทางที่ดีอยู่ : โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซในสินค้าบางประเภท เช่น แฟชั่น เครื่องสำอาง สกินแคร์ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเหตุการณ์โรคระบาดในเดือน ก.พ. นี้ อันที่จริงแล้ว มีลูกค้าจำนวนมากที่เลือกอยู่บ้านแล้วสั่งสินค้าทางออนไลน์แทนด้วย
ในภาพรวมแล้ว นี่อาจจะเป็น โอกาส ที่การขายสินค้าจะขยับจากภาคออฟไลน์ มาสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานแพลทฟอร์มสำคัญอย่าง WeChat ซึ่งกลุ่มสินค้าที่ติดอันดับขายดี คือกลุ่ม แฟชั่น

คำแนะนำระยะสั้น : ลดแคมเปญการตลาด หันมาโฟกัสที่ Engagement
ตัวอย่างเช่น lululemon แฟรนไชส์ด้านสถานโยคะชื่อดัง ที่เลือกทำแผนการตลาดโดยเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม Follower บนช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ในขณะที่บรรดายิมฟิตเนสหรือสถานบริการธุรกิจแนวนี้ส่วนใหญ่ในจีนต้องปิดตัวลงชั่วคราว
Case Study : Starbuck
ทาง Starbuck จำต้องปิดสาขามากกว่า 2,000 แห่ง หลังจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า ซึ่งก็มีการใช้ WeChat สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างง่ายๆ คือหาทางเพิ่มจำนวนผู้สั่งทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงแนะนำวิธีสั่งสินค้าให้ชัดเจนเพื่อดึงดูดลูกค้า
กลยุทธ์ที่แบรนด์นำมาใช้คือ การโชว์สโลแกนที่ว่า “We are Together” เราอยู่เคียงข้างกัน พร้อมทั้งลดราคา 10% สำหรับผู้ที่สั่ง 2 คน และโปรโมชั่นให้กับคนที่ต้องกลับมาทำงานในวันนี้
สำหรับแบรนด์ Starbuck นี่อาจจะเป็นการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส รวมถึงผลักดันรูปแบบการส่งออนไลน์มากขึ้น ในการแข่งขันกับแบรนด์กาแฟพรีเมียมของจีนอย่าง Luckin Coffee ที่กำลังมาแรงมาก

เตรียมพร้อมสำหรับช่วง Rebound
ทุกวิกฤติ เมื่อผ่านพ้นไปแล้ว ชีวิตต้องเดินหน้าต่อ ซึ่งสิ่งที่จะมาแน่ๆหลังจากนี้ก็คือ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับ สุขภาพ ยา กลุ่มนี้คาดว่าจะได้รับผลสะท้อนกลับอย่างมากหลังจากช่วงตรุษจีนไปแล้ว หรือเรียกง่ายๆว่าการตื่นตัวในเรื่องนี้จะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการระบาดของไวรัส จะส่งผลอย่างมากต่อความจริงจังในการดูแลสุขภาพ การให้ความใส่ใจเรื่องคุณภาพในการบริโภค
ดังนั้นในหลายธุรกิจน่าที่จะกระตุ้นการขายและโปรโมชั่นในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม โดยอาจจะใช้บริการของ KOL เข้ามาช่วย ร่วมถึงการกระตุ้นสินค้าในแง่บวก
บทสรุป
ถือว่าในภาพรวมแล้ว นี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุดช่วงหนึ่งในตลาดจีน แต่อย่าลืมว่า มันเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลายแบรนด์จำเป็นต้องทำการศึกษาและสำรวจตลาดในช่วงนี้ให้ดี สิ่งที่แนะนำคือ
น่าจะทุ่มงบด้านการตลาด, KOL ในระยะสั้น
เน้นการตลาดออนไลน์ในแบบติดต่อสื่อสารถึงลูกค้าในช่วงที่ต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น
เตรียมพร้อมสำหรับช่วงลดราคาครั้งใหญ่หลังผ่านวิกฤตได้แล้ว
=========================================
#คิดถึงการตลาดจีน#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand#
ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ
“ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่
หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ
“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่
ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่
ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ
Comments