เถ้าแก่น้อย หวังบุกตลาดจีน หวังยอดขาย 1 หมื่นล้าน ด้วยช่องทางโฆษณาออนไลน์
เถ้าแก่น้อย บุกตลาดจีน จัดว่าเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ดีมากเลยครับสำหรับการบุกตลาดจีน โดยผสมผสานระหว่างการใช้ช่องทางออฟไลน์และโฆษณาทางออนไลน์ ซึ่งได้มีการตั้งเป้ายอดขายถึง 1 หมื่นล้านบาท ผ่านทาง บริษัท โอริออนกรุ๊ป เพื่อเป็นบริษัทตัวแทนในจีน แล้วทำตลาดด้วยรูปแบบโฆษณาแบบออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางแบบใหม่ในเวลานี้ มาลองดูกันว่า เขาใช้กลยุทธ์อะไรกันบ้างครับ
เถ้าแก่น้อย กับ โอริออนกรุ๊ป ตัวแทนบุกตลาดจีน
เกี่ยวกับ เครือโอริออน กรุ๊ป (Orion Group) ได้มีการดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวมานานกว่า 70 ปี เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าในหลายประเทศ ด้วยมาตรฐานการผลิตและระบบบริหารจัดการที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก มีฐานการผลิตและเครือข่ายการจัดจำหน่ายขนาดใหญ่ในจีนกว่า 30 ปี ซึ่งไม่เพียงแค่ความน่าเชื่อถือเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในด้านข้อมูล ที่ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ในเรื่องของข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค การตลาด และช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศจีนมากขึ้น โดยมูลค่าตลาดขนมของจีน เป็นเงินสูงกว่า 3 แสนล้านบาท
ปัจจุบัน โอริออน กรุ๊ป เป็นบริษัทที่มีตลาดครอบคลุมอยู่ในหลายประเทศ โดยตลาดหลักคือ จีน เกาหลี และรัสเซีย ซึ่งทางเถ้าแก่น้อยก็คาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้ได้มากถึง 10,000 ล้านบาท ภายในปี 2567
นอกจากนี้ ทางเถ้าแก่น้อยยังวางแผนเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องภายในเวลา 2 ปีนี้ โดยอยู่ในกลุ่มสินค้าประเภทสาหร่าย 4 รายการ และอีก 3-4 รายการเป็นผลิตภัณฑ์นอกกลุ่มสาหร่าย ซึ่งแผนงานทั้งหมดเชื่อว่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้กับทางบริษัทได้เกิดช่วงการเติบโต New S-Curve ในช่วงต่อไป ขณะที่โรงงานในปัจจุบันทั้ง 2 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 12,000 ตันต่อปี มีอัตราการใช้กำลังการผลิตราว 60% สามารถรองรับการเติบโตของยอดขายได้อีก 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการยกระดับสินค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ อีกด้วย
ทางเถ้าแก่น้อยยังตั้งเป้าพร้อมเปิดกว้าง ถ้ามีบริษัทพันธมิตรรายอื่น ๆ สนใจเข้ามาถือหุ้นเพื่อร่วมธุรกิจอีกด้วย
เถ้าแก่น้อยใช้ช่องทางโฆษณา และออนไลน์อะไรบ้างในจีน
สำหรับช่องทางออนไลน์ มีการใช้ WeChat Official Account เพื่อการแข่งขันทางออนไลน์ ไปจนถึงการฝากกับร้านค้าอีคอมเมิร์ซ เช่น 1168, JD.com, Tmall, Taobao เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นเว็บอีคอมเมิร์ซยอดนิยมของคนจีนอยู่แล้วนั่นเอง
นอกจากนี้อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่พบคือ การทำ SEO Content สำหรับบนระบบ Search Engine ในจีน ที่จะนิยมค้นหาบนเว็บ Baidu ซึ่งถ้าเราพิมพ์คำว่าเถ้าแก่น้อย หรือของฝากประเทศไทย ก็จะเจอข้อมูลขึ้นมาอันดับต้น ๆ เลยทันที แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ติดในจีนแล้ว เรื่องนี้จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนอย่างมากครับ
อย่างไรก็ตาม แบรนด์เถ้าแก่น้อยก็มีอุปสรรคอยู่บ้าง หลังจากกรณีที่ Xiao Lao Ban ซึ่งเป็นชื่อแบรนด์ที่หมายถึงเถ้าแก่น้อยในจีน ได้ทำสินค้าออกมาลอกเลียนแบบ นี่จึงเป็นกรณีศึกษาในการทำตลาดในจีนที่จะต้องคำนึงถึงอย่างมากด้วยครับ ในการที่จะสื่อสารกับผู้บริโภคว่าของเราคือของแท้ รวมถึงการจดทะเบียนตราสินค้าให้ถูกต้อง และการเลือก Partner ในจีนก็มีความสำคัญมากด้วย
ใช้เนตไอดอลจีน
ก่อนหน้านี้ เถ้าแก่น้อยเคยใช้บริการของกลุ่มไอดอลในการเป็นพรีเซนเตอร์สำหรับบุกเกาหลีมาแล้ว ซึ่งสำหรับตลาดจีน ก็มีการปรับกลยุท์ ใช้กลุ่มบอยแบนด์ “F4” ไอดอลชื่อดังจากจีน
สำหรับที่ผ่านมาในปี 2561 ทางเถ้าแก่น้อย มียอดขายในไทยและในจีน เป็นตลาดยอดขายหลัก โดยมียอดขายทั้งหมดรวม 5,662 ล้านบาท ซึ่งการเติบโต 10% มาจากตลาดในประเทศไทย และอีกมากกว่า 40% มาจากตลาดจีน ขณะที่การส่งออกอื่น ๆ อยู่ที่ 20% เพราะฉะนั้นตลาดจีนจึงเป็นตลาดสำคัญมากของเถ้าแก่น้อย
ส่วนกลยุทธ์การใช้ ไอดอล หรือ KOL เข้ามาช่วย ถือว่าตรงกับช่วงครบรอบ 10 ปี ในการทำตลาดจีนพอดี ซึ่งกลุ่ม F4 ประกอบด้วย ดีแลน หวัง (Dylan Wang) ดาร์เรน เฉิน (Darren Chen) ลีออน เหลียง (Leon Leong) และซีซาร์ อู๋ (Caesar Wu) โดยเป้าหมายไม่ใช่แค่เจาะตลาดจีนเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังเจาะตลาดไทยด้วยพรีเซนเตอร์จีนด้วย เพราะ F4 เดิมเป็นผลงานซีรีส์ดังที่คนไทยรู้จักมานาน แม้ว่ากลุ่ม F4 ที่เข้ามาเป็นพรีเซนเตอร์จะมาจากฉบับรีเมคในปีก่อนก็ตาม แต่ชื่อ F4 ก็ยังขายได้ และมีแฟน ๆ ในเมืองไทยติดตามอยู่ไม่น้อยด้วย
แล้วยังไม่ใช่แค่การใช้พรีเซ็นเตอร์ของเถ้าแก่น้อยที่ต้องการเน้นตลาดจีน แต่มีการทำตลาดที่เน้นแบบเฉพาะกลุ่มและช่วงอายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การปั้นตลาด “บิ๊กโรล” ซึ่งเป็นการทำโฆษณาด้วย F4 ภายใต้คอนเซปต์สาหร่ายย่างแบบม้วน ซึ่งเน้นขายกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน และนักศึกษาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการเติยโตสูงมากในประเทศไทยจากปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีการออกสินค้าใหม่ ๆ เช่น รสกิมจิ ที่เน้นรสชาติเข้มข้นสไตล์เกาหลี เพื่อขยายกลุ่มผู้บริโภคที่อบรสจัดจ้านมากขึ้นด้วย
แล้วจะบุกตลาดจีน ด้วยช่องทางออนไลน์ กับ KOL ยังไงดี
ดังนั้นช่องทางดิจิทัล จึงมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการบุกตลาดจีน หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาในเรื่องนี้ เรามีบริการของ Levelup holding ที่แนะนำสำหรับการบุกตลาดจีนด้วยช่องทางนี้ครับ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย การทำ SEO เพื่อดันอันดับบนเว็บ Baibu ไปจนถึงการใช้ Wechat Official & Wechat advertising ซึ่งเป็นบริการเปิดและบริหารแอคเคาท์ Wechat หรือ โฆษณาผ่านทาง Wechat ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในประเทศจีน
นอกจากนี้ยังผสมผสานกับช่องทางของ KOL ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มชื่อดังของจีน พร้อมบริการแอดมิน ภายใต้แอคเคาท์ของบริษัทเลเวลอัพ โดยใช้ช่องทางที่เหมาะสมและกำลังโด่งดังในเวลานี้ เช่น Xiaohongshu “เสี่ยวหงชู” (Little Red Book) โดยจะเป็นการเขียนคอนเทนต์รีวิวผ่านแพลทฟอร์ม ด้านการรีวิวสินค้า ไลฟ์สไตล์ การท่องเที่ยว ความสวยความงาม ซึ่งถือว่าเป็นแพลทฟอร์มยอดนิยมของจีนในเวลานี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีบริการอื่น ๆ ผ่านช่องทางโซเชียลและแพลทฟอร์มยอดนิยม เช่น Dianping แพลทฟอร์มที่จะช่วยให้บริการสำหรับการปักหมุดที่ตั้งร้าน ใส่รูป ผ่านแอพพลิเคชั่น Dianping ซึ่งเป็นแอพรีวิวร้านอาหารยอดนิยม สร้าง Ranking ที่ดีขึ้นให้กับร้านค้า และ TikTok (Douyin) เป็นแพลทฟอร์มยอดนิยมสำหรับการสร้างคลิปวิดีโอโพ ที่กำลังมาแรงในจีน รวมถึง CTrip เว็บโฆษณาหรือวางขายตั๋วผ่านแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของจีนในเวลานี้ด้วย
ดังนั้นถ้าต้องการบุกตลาดจีน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ติดต่อกับเรา Levelup holding ได้ครับ
www.levelupthailand.com
Comentarios